เร็วๆ นี้มีดาราท่านหนึ่งออกมาร้องเรียนผ่านหน้าหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ถึงประสบการณ์ร้ายเกี่ยวกับการฉีดยาโบท็อกซ์ ที่ทำให้หน้าดูหนุ่มกว่าวัย (แสดงว่าเดี๋ยวนี้ท่านชายก็ไม่แพ้สาวๆ ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องใบหน้ามากพอๆ กัน) เหตุการณ์คร่าวๆ คือดาราชายท่านนั้นเห็นว่าเพื่อนมีสิทธิได้รับการฉีดยาด้วยโบท็อกซ์จากสถานพยาบาลแห่งนั้นฟรีๆ แต่ไม่ใช้สิทธิ์ตนจึงอาสาไปใช้สิทธิ์นั้นแทน โดยหวังจะให้รอยย่นที่หน้าผากหายไป แต่เหตุการณ์ไม่เป็นไปดังคาด เพราะภายหลังการฉีดยาไม่เพียงแต่รอยย่นที่หายไปและทำให้หน้าผากตึงขึ้น แต่กลับมีหนังตาช้างหนึ่งกลับหย่อนตกลงมา (ตาตก) ทำให้หนังตามาปิดการมองเห็น ส่งผลกระทบต่ออาชีพของนักแสดงท่านนั้น จึงออกมาเรียกร้องความรับผิดชอบจากแพทย์ผู้ให้การรักษาและสถานพยาบาลนั้น เรามาทำความเช้าใจกับเรื่องโบท็อกซ์ให้ดีกว่านี้ แล้ววจะทราบว่าการฉีดโบท็อกซ์ที่ถือว่าค่อนข้างปลอดภัยทำไมจึงมีปัญหาเกิดขึ้นได้อีก
โบท็อกช์คืออะไร?
"โบท็อกซ์" (Botox) เป็นชื่อการค้าของสารพิษที่เรียกว่า "โบทูลินั่ม ท็อกชิน เอ (Botulinum toxin type A)" ซึ่งเป็นโปรตีนที่สร้างจากแบคทีเรีย ชื่อ คลอสตริเดียม โบทูลินั่ม (Clostridium botu- แทนทา) โดยปกติแล้วโปรตีนนี้ถือเป็นสารพิษร้ายแรงที่ก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ แก่มนุษย์ และนับได้ว่าสารนี้เป็นพิษที่ร้ายแรงที่สุดชนิดหนึ่งบนโลกมนุษย์ใบนี้ ซึ่งพบได้จากอาหารกระป๋องที่มีการปนเปื้อนเชื้อนี้ หากร่างกายมนุษย์ได้รับโปรตีนนี้เข้าไป จะทำให้เกิดอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อต่างๆ และเมื่อได้รับในปริมาณมาก จะเกิดภาวะการหายใจล้มเหลวเพราะกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจหมดแรง (เป็นอัมพาต) ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาด้วยการช่วยหายใจ จะเสียชีวิตทุกรายเพราะสารพิษนี้ไม่มียาต้านโดยตรงในทางการแพทย์เมื่อพบว่าโปรตีนนี้มีผลทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ จึงทำการดัดแปลงและลดปริมาณสารพิษนื้ลงโดยการทำให้พิษอ่อนลงมาก เพียงเพื่อหวังผลให้กล้ามเนื้อที่ได้รับสารนี้เข้าไปเกิดอาการอ่อนแรงเฉพาะส่วน (กล้ามเนี้อคลายตัว) ซึ่งในทางเสริมสวยจะนำสารนี้มาฉีดตรงกล้ามเนื้อที่เกิดรอยย่นบริเวณใบหน้าและ ลำคอ เพื่อให้ผิวหนังปราศจากรอยย่นจากกล้ามเนื้อที่อยู่ข้างใต้และกลับมาดูเต่งตึงเหมือนหนุ่มสาว
การใช้โบท็อกซ์ในทางการแพทย์
เดิมทีนี้นแพทย์มักจะใช้สารพิษชนิดนื้มาทำให้กล้ามเนื้อบางมัดมีการคลายตัวเพื่อใช้รักษาโรค เช่น ในรายที่มีอาการตาเหล่ ตาเข (strabismus, crossed eyes) ทำให้ตาสองข้างไม่สามัคคีกัน เนื่องจากมีกล้ามเนื้อบางมัดทำงานมากกว่าบางมัด แต่ภายหลังการฉีดยานื้มีการสังเกตุว่ายาที่กระจายไปโดนกล้ามเนื้อรอบตาหรือหน้าผากจะทำให้กล้ามเนื้อมัดนั้นคลายตัวและ มีผลทำให้รอยย่นบนผิวหนังหายไปตามการคลายตัวของกล้ามเนื้อนั้นด้วย
นอกจากการรักษาตาเหล่ ตาเขแล้ว ผู้ที่มีอาการกล้ามเนื้อกระตุกอย่างรุนแรงที่ไม่สามารถควบคุมได้ด้วยวิธีการรักษาอื่นก็จะได้รับการฉีดยาตัวนื้เพื่อให้มีการคลายตัวของกล้ามเนื้อและลดอาการกระตุกลง
การใช้โบท็อกซ์ในการเสริมสวย
เมื่อนำสารพิษโบท็อกซ์ที่ได้จากการดัดแปลงนื้มาใช้ในปริมาณเพียง เล็กน้อยฉีดเข้ายังส่วนของกล้ามเนื้อเฉพาะที่จะมีผลทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวและรอยย่นที่อยู่เหนือกล้ามเนื้อหายไป ทำให้ใบหน้าดูเต่งตึงและอ่อนเยาว์ลง (Face lift) ได้ภายใน 3-4 วันหลังได้รับยา แต่การเห็นผลชัดเจนอาจต้องรอนานถึง 10-14 วัน และจะมีฤทธิ์คงอยู่ได้นาน 4-6 เดือน และหากต้องการให้กลับมาเป็นเหมือนเดิมก็ต้องกลับมารับการฉีดยาใหม่อีก สิงที่ต้องระวังคือหากกล้ามเนื้อนั้นได้รับยาบ่อยๆ จะทำให้ลีบตัวในระยะยาวได้ ซึ่งหมายความว่า กล้ามเนื้อนั้นเป็นอัมพาตถาวรในอนาคต
เขาฉีดยากันที่ส่วนไหน
ตำแหน่งเป้าหมายของการฉีดโบท็อกซ์คือตำแหน่งที่ทำให้เกิดรอยย่นที่บอกถึงประสบการณ์ชีวิต โดยตำแหน่งยอดฮิตที่สุดคือ "ตีนกา" รอยย่นบริเวณหางตาสองข้างนั่นเอง ส่วนตำแหน่งอื่นๆ ได้แก่ หน้าผาก บริเวณระหว่าง หัวคิ้วสองข้าง (ขมวดคิ้ว) รอบดวงตา รอบ ปาก และรอยย่นตามลำคอ ส่วนรอยย่น บริเวณมุมปากนั้นมักไม่นิยมฉีดกันเนื่องจาก อาจเกิดผลข้างเคียงทำให้ไม่สามารถเคี้ยว อาหารได้ตามปกติ
นอกจากบริเวณดังกล่าวแล้วใน ปัจจุบันยังมีการฉีดยานี้ในส่วนอื่นของร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อใบหน้าบริเวณมุมกราม เพื่อทำให้กล้ามเนื้อฝ่อลีบลงและทำให้หน้าดูเรียวขึ้น (ซึ่งต้องคำนึงถึงข้อเสียเรื่องการใช้ขากรรไกรในการเคี้ยวอาหาร) หรือ การฉีดยาบริเวณกล้ามเนื้อน่อง เพื่อให้กล้ามเนื้อลีบลงและขาดูเรียวขึ้นกว่าเดิม
ผลอันไม่พึงประสงค์จากการฉีดยา
แม้ว่าการฉีดยาโบท็อกซ์จะทำได้ง่ายรวดเร็ว โดยที่ผู้รับการฉีดไม่จำเป็นต้องนอนในโรงพยาบาลแต่อย่างใด ใช้เวลาเพียงแค่ไม่เกิน 10-15 นาทีทุกอย่าง ก็เรียบร้อย นอกจากอาการเจ็บปวดตรงตำแหน่งที่ฉีดยา หรือการติดเชื้อเนื่องจากการฉีดยาแล้ว ผลไม่เป็นไปตามที่ต้องการก็อาจเกิดขึ้นได้จากการฉีดยาผิดตำแหน่ง หรือการที่ยากระจายไปยังกล้ามเนื้อที่ไม่เกี่ยวข้อง ทำให้เกิดอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อมัดนั้นขึ้นมาได้ ซึ่งในกรณีตัวอย่างที่เกิดกับ ดาราชาย ก็จากเหตุผลข้อนี้ คือแทนที่ยาจะอยู่เฉพาะตรงกล้ามเนื้อหน้าผาก แต่ยากลับไหลหรือกระจายไปโดนกล้ามเนื้อที่มีหน้าที่ในการยกหนังตาขึ้นส่งผลทำให้กล้ามเนื้อนี้เป็นอัมพาตและแสดงออกมาใน รูปแบบที่ไม่สามารถลืมตาข้างดังกล่าวขึ้นได้ (ด้วยเหตุนี้แพทย์มักจะแนะนำมิให้มีการนวดคลึงบริเวณที่ได้รับการฉีดยา หรือแม้แต่การขยี้ตาภายหลังการฉีดยา เพื่อป้องกันมิให้ยาแพร่กระจายไปนอกบริเวณที่ฉีดยา) และแม้แต่การฉีดยาที่ถูกตำแหน่งแต่หากผู้ที่ได้รับการฉีดตอบสนองต่อยามากกว่าปกติ ก็อาจทำให้เกิดผลอันไม่พึงประสงค์ขึ้นได้เช่นกัน นอกเหนือจากการที่ยากระจายไป นอกบริเวณที่แพทย์ต้องการดังกล่าวแล้ว ผลข้างเคียงอย่างอื่นที่อาจพบได้ภายหลังการฉีดยาหลายๆ ครั้ง เช่น คิ้วสองข้างมีลักษณะไม่สมมาตร คือคิ้วสองข้างผิดรูปไปไม่เหมือนกัน เพราะการคงอยู่ของฤทธิ์ยาที่อาจไม่เท่ากัน รวมทั้งการที่กล้ามเนื้อฝ่อตัวลงไม่เท่ากัน เพราะการไม่ได้ใช้งานของกล้ามเนื้อมัดนั้นนานๆ
การคงอยู่ของโบท็อทช์ในร่างกาย
โบท็อกซ์จะไม่มีการสะสมในร่างกายภายใน 4-6 เดือนยาจะสลาย ตัวและหมดฤทธิ์ไปเองทำให้กล้ามเนื้อกลับมา ทำงานได้ดังเดิมอีก แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าตำแหน่งที่ฉีดนั้นเคยโดนฉีดมาก่อนหน้านี้หรือไม่ เป็นการฉีดในผู้ที่มีอายุมากหรือน้อย และฉีดในปริมาณมากน้อยเพียงใดและในตำแหน่งใด เช่น ในรายที่โดนฉีดมาก่อนหลายครั้ง อาจทำให้กล้ามเนื้อเป็นอัมพาตอยู่นานกว่าคนที่เพิ่งจะได้รับเป็นครั้งแรก
ข้อห้ามนการไช้โบท็อกซ์
จากคำแนะนำขององค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา ห้ามการใช้ยานื้ในผู้ที่มีปัญหาโรคทางระบบประสาท โรคทาง กล้ามเนื้อ หรือสตรีที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร
อันตรายของโบท็อกช์
ที่ผ่านมามีการใช้โบท็อกซ์เพื่อรักษาผู้ป่วยโรคตาเหล่ ตาเขตั้งแต่ ปี พ.ศ.2532 และมีการใช้เพื่อเสริมความงามตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 และนับตั้งแต่นั้นมากล่าวได้ว่าอุตสาหกรรมเสริมความงามได้มีการเติบโตเร็วที่สุด ด้วยอิทธิพลของโบท็อกซ์ สำหรับการฉีดโบท็อกซ์เพื่อลดรอยเหี่ยวย่นนั้นยังไม่เคยมีรายงานผู้ที่ได้รับโบท็อกซ์แล้วเป็นอันตรายถึงชีวิต ยิ่งหากได้รับยาจากผู้ที่เป็นแพทย์ตัวจริง คงเรียกได้ว่ามีความปลอดภัยสูง แต่เมื่อไม่นานมานี้เริ่ม มีการรายงานถึงการแพร่กระจายของโบท็อกซ์เข้าไปยังระบบประสาทส่วน กลาง(สมอง) ซึ่งแต่เดิมไม่มีใครทราบว่ายานี้จะสามารถกระจายจากตำแหน่งที่ ฉีดบริเวณผิวหนัง เข้าไปยังระบบประสาทส่วนกลางได้
ข้อมูลจากนักวิจัยระบบประสาทที่สถาบันวิจัยแห่งชาติอิตาลี (National research council's institute of Neuroscience, Consiglio Nazionale delle Ricerche) พบว่าการฉีด botulinum เข้าไปที่ผิวหนังที่ใบหน้าของหนูทดลอง พบว่ายาส่วนหนึ่งสามารถกระจายตัวเข้าไปถึงบริเวณ ก้านสมองของหนูทดลองได้ นอกจากนี้สารพิษนี้ยังสามารถคงอยู่ในสมองของหนูทดลองได้นานนับ 6 เดือน และยังสามารถกระจายไปยังส่วนอื่นของสมองได้อีกด้วย และเมื่อนำสมองของหนูทดลองมาตรวจวิเคราะห์ก็พบว่ามีการเสื่อมสลายของโปรตีนในก้านสมองของหนูทดลอง แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันยังไม่ พบอันตรายในระดับนี้จากการฉีดในคน (ปริมาณการใช้ยาถือว่าตํ่ากว่าระดับที่เป็นพิษอยู่มาก)
สมาคมแพทย์ความงามในประเทศสหรัฐอเมริกาต้องการให้มีการยืนยัน ผลการวิจัยดังกล่าวข้างต้นให้หนักแน่นกว่าที่อธิบายมาและเชื่อว่าผลข้างเคียงของโบท็อกซ์ มักเกิดเนื่องจากการฉีดผิดตำแหน่ง หรือฉีดในปริมาณที่เกินกว่าที่ควรจะได้รับต่อการฉีดหนึ่งครั้ง (หนังตาตกหรือหน้าไร้ความรู้สีก) มากกว่าเกิดจากตัวยาเอง
ถึงตอนนี้แล้วคุณคงทราบแล้วว่า "
สวยด้วยยาพิษ" คงไม่เกินความเป็นจริง และคงทราบแล้วว่าแม้ว่าจะมีความปลอดภัยแค่ไหนแต่โอกาสเกิดผลข้างเคียงจากการได้รับสารพิษตัวนี้ก็ยังมีอยู่ ตังนั้นก่อนใช้สารตัวนี้จึงควรทำความเข้าใจถึงอันตรายและผลข้างเคียงเหล่านี้ไว้ด้วยเสมอ.